ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์อย่างรุนแรง ตั้งแต่ปี พ. ศ. 2527 ซึ่งในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยมีประชากร ประมาณ 62.5 ล้านคน ณ สิ้นปี 2548 ประเทศไทยมีผู้ป่วยเอดส์สะสม ประมาณ 1.1 ล้านคน ยังมีชีวิตอยู่ ประมาณ 540,000 คน และเสียชีวิต เนื่องจากโรคเอดส์ จำนวน 560,000 คน ประเทศไทยมีการดำเนินโครงการการดูแลรักษาผู้ป่วยเอดส์อย่างครอบคลุมในระดับประเทศ และการรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ตั้งแต่ปี 2544 ทำให้ผู้ติดเชื้อเอช ไอวีและผู้ป่วยเอดส์เข้าถึงการดูแลรักษามากยิ่งขึ้น มีผู้ป่วยเอดส์จำนวนมากกว่า 80,000 คน ที่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ภายใต้การดำเนินงานโครงการในระดับประเทศ (national program) ในข้อตกลงความร่วมมือฉบับแรกของ GAP Thailand (2545-2549) โดยทางสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยใช้โปรแกรม HIVQUAL-T เป็นเครื่องมือในการวัดศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพการให้บริการการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพในโรงพยาบาล 63 แห่ง ดังตารางเปรียบเทียบผลการวัดศักยภาพการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ตั้งแต่ปี 2545 – 2548

ปี

จำนวน
โรงพยาบาล

จำนวน
คนไข้

% ที่ตรวจ CD4

   % ที่ได้รับยา
ต้านไวรัส

% ที่ได้รับยา
ป้องกัน
โรคติดเชื้อ
ฉวยโอกาส

% ที่ได้รับการตรวจ

PCP

Crypto

วัณโรค

ซิฟิลิส

Pap
smear

2545

12

4,855

28

87

77

52

NA

16

6

2546

41

11,786

58

78

80

57

42

5

5

2547

63

15,702

80

81

79

69

57

9

8

2548

63

22,122

93

88

87

84

81

40

45

ที่มา : จากข้อมูลเปอร์เซ็นคนไข้ที่ได้รับบริการ จากปี 2545 - 2548

            สืบเนื่องจากสถาบันรับรองและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ( พรพ. ) ได้เริ่มสนับสนุนระบบต่าง ๆ ในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล โดยในปัจจุบันมีโรงพยาบาลทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน จำนวน 914 โรงพยาบาล ได้เริ่มทำกระบวนการพัฒนาคุณภาพเพื่อการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง และในด้านงานรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมสำคัญของกระบวนการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาล กรมควบคุมโรคจึงมีนโยบายที่จะร่วมมือกับสถาบันรับรองและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ในการขยายการพัฒนาคุณภาพในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ไปทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการบูรณาการ การพัฒนาระบบการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์อย่างเป็นระบบ ส่วนในด้านการรักษาผู้ป่วยด้วยยาต้านไวรัส ตั้งแต่ปี 2548 ได้มีการรวม โครงการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ในระดับประเทศภายใต้ กรมควบคุมโรค เข้ากับโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ( โครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค ) ภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดังนั้นความร่วมมือระหว่างองค์กรเหล่านี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการสร้างระบบที่จะติดตามและพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยเอดส์ ในการนี้ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สถาบันรับรองและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขอเสนอโครงการนี้เพื่อที่จะขยายการพัฒนาคุณภาพในระดับประเทศให้เพิ่มมากขึ้น และ สร้างกลวิธีในการพัฒนาคุณภาพในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ให้ยั่งยืน

ศักยภาพของหน่วยงาน                                                                                                          

กรมควบคุมโรค
            สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งได้มีประสบการณ์ในการทำโครงการพัฒนาคุณภาพในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์มาเป็นเวลานาน มีบทบาทที่รับผิดชอบในการ ควบคุมดูแลโครงการการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ในเชิงวิชาการ ในระดับประเทศ อีกทั้งยัง มีประสบการณ์โดยตรงในการดำเนินการและพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ โดยใช้เครื่องมือในการวัดศักยภาพในการให้บริการการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ด้วยโปรแกรม HIVQUAL-T ตั้งแต่ปี 2546 อีกทั้งสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ทั้ง 12 แห่ง มีประสบการณ์และมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ตั้งแต่ ปี 2548 นอกจากนี้ ทางสำนักงานป้องกันควบคุมโรคยังสามารถประสานงานโดยตรงกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลในแต่ละเขตอีกด้วย อีกทั้งยังสามารถสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในระดับพันที่ด้วย

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
            สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด มีหน้าที่รับผิดชอบในการอำนวยการทางด้านวิชาการ และประสานงานในการให้บริการดูแลรักษา ภายใต้โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ในระดับจังหวัด และ รายงานผลการวัดศักยภาพในการให้บริการการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ด้วยโปรแกรมHIVQUAL-T ต่อสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
            สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะมีบทบาทเป็นผู้ให้บริการ (service purchaser) จึงมีความต้องการที่จะติดตามและรับรองคุณภาพการให้บริการทางด้านคลินิค รวมทั้งการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ดังนั้น เพื่อที่จะวางแผนในดูแลอย่างครบถ้วน มีคุณภาพ มีมาตรฐานสูงสุด กำหนดการใช้ทรัพยากรในการพัฒนาคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงกำหนดนโยบายในระดับประเทศ
            สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักงานเขต ทั้ง 13 แห่ง จะช่วยกันผลักดัน / สนับสนุนการอบรม การวัดและการติดตาม การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง เพื่อความยั่งยืน ส่วนสถาบันรับรองและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลจะร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพให้กับโรงพยาบาลส่วนใหญ่ในประเทศไทย โดยอาศัยประสบการณ์จากกระบวนการพัฒนาคุณภาพของ โรงพยาบาลนำร่อง ในโครงการ HA โดยมีโครงสร้างการการบริหารงานดังนี้(คลิกที่ลิ้งเพื่อดูรายละเอียด)

แนวทางและวัตถุประสงค์                                                                                                       

          1. ขยายระบบการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ด้วยโปรแกรม HIVQUAL-T ให้ครอบคลุม 900 โรงพยาบาล ภายในปี 2554 โดยมีคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพและทีมงานที่เข้มแข็ง มีการวัดศักยภาพในการให้บริการเป็นประจำทุกปี และทำกระบวนการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
               1.1 พัฒนานโยบายและการปฏิบัติในเรื่องการพัฒนาการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ โดย ทั่ว ๆไป ร่วมกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และสถาบันรับรองและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล รวมทั้ง พัฒนาโครงการและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวัดศักยภาพการให้บริการ ดำเนินการอบรมให้กับผู้ฝึกอบรม (Training for trainer) ซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 เขต เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตของสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ทั้ง 13 เขต และเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลในแต่ละจังหวัด เพื่อที่จะเป็นผู้อบรมการดำเนินงานให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ
               1.2 ส่งเสริมให้โรงพยาบาลดำเนินงาน โดยใช้กระบวนการการพัฒนาคุณภาพ รวมทั้ง การวัดศักยภาพการให้บริการ ด้วยโปรแกรม HIVQUAL-T ภายใต้การดูแลโดยผู้ฝึกอบรม (trainer) จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและสำนักงานป้องกันควบคุมโรค
               1.3 เทียบมาตรฐานผลของการวัดศักยภาพการให้บริการ ทั้งในระดับจังหวัด ระดับเขต และระดับประเทศ
               1.4 สร้างและเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ในจังหวัด และในเขต อีกทั้งยัง มีการนิเทศติดตามการพัฒนาคุณภาพ (coaching) ในพื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่มีประสบการณ์และเจ้าหน้าที่ผู้ประเมิน (surveyor offices) จากสถาบันรับรองและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 
               1.5 จัดการประชุมประจำปี ในระดับประเทศ ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์
          2. พัฒนาเครือข่ายการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาลและสถานีอนามัย
               2.1 วิจัยและพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาและการส่งต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ ระหว่างโรงพยาบาล และ สถานีอนามัย ในปีแรกจะดำเนินการนำร่องในโรงพยาบาลและสถานีอนามัยบางแห่งและจะขยายการดำเนินงานในปีที่ 2 – 5 ต่อไป
               2.2 สร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยและทดลองในโรงพยาบาลนำร่อง  
          3. พัฒนาแนวทาง Post-exposure prophylaxis ระดับประเทศ เช่น การปฏิบัติในเชิงการแพทย์ (medical practices) การพยาบาล (nursing practices) การบริหารจัดการคนไข้ (case management) และระบบรายงาน (report-support system) )
               3.1 ประชุมทีมงานเพื่อพัฒนาแนวทางต่าง ๆ โดยให้ผู้เชี่ยวตรวจทาน และพิจารณาแนวทางต่าง ๆ
               3.2 จัดพิมพ์แนวทางเป็นรูปเล่มและแจกจ่ายไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
               3.3 อบรมให้ความรู้ตามแนวทาง ให้แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง จัดให้มีการซักซ้อมและทดสอบระบบตามแนวทางการดูแลฯ
               3.4 ติดตามประเมินผลและรวบรวมรายงานประจำเดือนผ่านทางสำนักงานป้องกันควบคุมโรคมายังสำนักโรคเอดส์ วัณโรคและ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ผลที่คาดว่าจะได้รับ                                                                                                               

            การดำเนินงานโครงการ Quality of HIV Care จะส่งผลให้ระบบการพัฒนาคุณภาพมีความยั่งยืน เนื่องจาก ใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ที่มีอยู่ เช่น โครงสร้างพื้นฐานของโรงพยาบาล ระบบการรับรองคุณภาพของโรงพยาบาล โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า แนวทางในระดับประเทศ เป็นต้น ก่อให้เกิดมีการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่รับผิดชอบ ซึ่งได้แก่ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สถาบันรับรองและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นอกจากนี้ โครงการยังจะสนับสนุนการเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาคุณภาพให้กับผู้ฝึกอบรม (trainer) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของเขตในส่วนภูมิภาคและเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะสนับสนุนงบประมาณให้กับกิจกรรมต่าง ๆ ในการพัฒนาคุณภาพ และการวัดศักยภาพในการให้บริการของโรงพยาบาล รวมทั้งติดตามและเทียบเคียงมาตรฐานผลของการวัดศักยภาพการให้บริการ

แผนการประเมิน                                                                                                                  

ผลการดำเนินงาน/ผลลัพธ์/การประเมินผล
เครื่องมือ
ระยะเวลา
คุณภาพในการให้บริการการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาล โปรแกรม HIVQUAL-T ( ผู้ใหญ่ , เด็ก , VCT, DCC, เป็นต้น )
รายปี
โครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาคุณภาพ แบบประเมินองค์กร
บันทึกกระบวนการพัฒนาคุณภาพ ( ทั้งภายในและภายนอก ผู้ควบคุมจากสถาบันรับรองและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล
รายปี
ไตรมาส
โครงการ HIV day care center รายงานกิจกรรมการบริการการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์
รายปี
ความพึงพอใจของคนไข้ แบบสำรวจความพึงพอใจของคนไข้
รายปี
เครือข่ายผู้ดูแล แบบสำรวจในสถานีอนามัยและโรงพยาบาล
บันทึกกระบวนการของเครือข่าย
ปีที่ 2 – 5
แนวทางการใช้ประโยชน์ในเรื่อง PEP รายงานประจะเดือนจาก สคร . และ แบบสำรวจผู้ใช้
ปีที่ 1

พื้นที่ดำเนินการ                                                                                                                  
            โรงพยาบาลในพื้นที่ 75 จังหวัดของประเทศไทย

ระยะเวลาการดำเนินงาน
            5 ปี ( ตั้งแต่ กันยายน 2549 – สิงหาคม 2554)

หน่วยงานที่รับผิดชอบ
     
•  สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
      •  สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ( สปสช .)
      •  สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ( พรพ .)
      •  สำนักงานป้องกันควบคุมโรคทั้ง 12 เขต
      •  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั้ง 75 แห่ง

แผนการดำเนินงานโครงการ ( ปีที่ 1 พ.ศ. 2550)                                                                   

ลำดับ
กิจกรรม
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
1
ประชุมคณะทำงาน
2
ประชุมคณะกรรมการโครงการ ( คณะที่ปรึกษาโครงการ )
3
ประชุมเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดในโปรแกรม HIVQUAL-T
4
ประชุมเพื่อประสานความร่วมมือระหว่าง
สอวพ., TUC, สปสช และ HA (Tri parties meeting)
5
ประชุมเพื่ออบรมโปรแกรม HIVQUAL-T สำหรับ สคร. และสสจ. และโรงพยาบาลพี่เลี้ยง
6
การนิเทศ ติดตามการดำเนินงานโครงการ (Monitoring and Coaching)
7
การประชุมกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่าง รพ. ในพื้นที่ (Local Group Learning)
8
HIVQUAL-T National Forum
9
พัฒนาเครือข่ายการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยเอดส์ในโรงพยาบาล และสถานีอนามัย
10
การประชุมเพื่อพัฒนาแนวทาง Post-exposure prophylaxis
11
Training PAP Guideline สำหรับ สคร. ทั้ง 12 แห่ง

แผนการดำเนินงานโครงการ ( ปีที่ 2 พ.ศ. 2551)                                                                   

ลำดับ
กิจกรรม
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
1
ประชุมคณะทำงาน
2
ประชุมเพื่อประสานความร่วมมือระหว่าง สอวพ., TUC, สปสช และ HA (Tri parties meeting)
3
ประชุมคณะกรรมการโครงการ ( คณะที่ปรึกษาโครงการ )
 
 
4
ประชุมคณะกรรมการโครงการในระดับภาค (สคร. สสจ. รพ. NGO)
2 ครั้ง/ปี
5
ประชุมเพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาคุณภาพกับมาตรฐานการดูแลผู้ติดเชื้อ
2 ครั้ง/ปี
6
วัดศักยภาพด้วยโปรแกรม HIVQUAL-T
* รพ.ครู ก. และส่วนขยาย *
7
การประชุมเพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาคุณภาพ และการวัดด้วยโปรแกรม HIVQAUL-T ให้แก่ผู้ฝึกสอน
*(HIVQUAL-T Refreshing)*
 
8
การประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ รายภาค (Group Learning)
9
การนิเทศ ติดตามการดำเนินงานโครงการ (Monitoring and Coaching)
 
 
10
การประเมินผลรูปแบบการส่งต่อการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ระหว่างรพ. และ สถานีอนามัย
12
พัฒนาเวบไซต์
13
ประชุม HIVQUAL-T Forum

แผนการดำเนินงานโครงการ ( ปีที่ 3 พ.ศ. 2552)                                                                

ลำดับ
กิจกรรม
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
1
ประชุมคณะทำงาน
2
ประชุมคณะกรรมการโครงการ ( คณะที่ปรึกษาโครงการ )
 
3
ประชุมเพื่อประสานความร่วมมือระหว่าง สอวพ., TUC, สปสช และ HA (Tri parties meeting)
 
 
 
4
วัดศักยภาพการดูแลฯด้วยโปรแกรม HIVQUAL-T (ปี 51)
 
5
การนิเทศ ติดตามการดำเนินงานโครงการ (Monitoring and Coaching)
 
 
6 พัฒนาตัวชี้วัดโปรแกรม HIVQUAL-T
8
พัฒนาโปรแกรม HIVQUAL-T
10
ทดสอบโปรแกรม HIVQUAL-T  
 
 
11
อบรมโรงพยาบาลนำร่องเรื่องกระบวนการพัฒนาคุณภาพและการใช้โปรแกรม HIVQUAL-T ฉบับปรับปรุง 
12 จัดทำหลักสูตร QI TOT
13 อบรม QI TOT ให้รพ.นำร่อง
14 พัฒนา Web Knowledge Based ด้านการพัฒนาคุณภาพฯผ่านทาง http://www.cqihiv.com

โครงสร้างการบริหารงานโครงการ                                                                                            
ผู้อำนวยการโครงการ : แพทย์หญิงพัชรา ศิริวงศ์รังสรร ( สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ )
ผู้ช่วยผู้อำนวยการโครงการ :แพทย์หญิงเบญจวรรณ ระลึก ( สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ )

 
 
       วัตถุประสงค์โครงการ
      

        ความเป็นมาของโครงการ

   
หน้าแรก